ู☻ู

วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ระบบนิเวศแนวปะการัง

ระบบนิเวศแนวปะการัง ระบบนิเวศแนวมีความซับซ้อมและมีความหลากหลายทางชีวภาพสูงมาก มีความสำคัญทางนิเวศวิทยาตลอดจนผลผลิตทางการประมงและศักยภาพของการเป็นแหล่งท่องเที่ยว ด้วยเหตุผลดังกล่าวแนวปะการังจึงมีความเสื่อมโทรมมากขึ้นด้วยกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ การสำรวจและการประเมินสภาพแนวปะการังจึงมีความสำคัญมากเพื่อแยกความแตกต่างระหว่างการเปลี่ยนแปลง ของโครงสร้างและแนวปะการังอันเนื่องจากการกระทำของมนุษย์ และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ทั้งนี้เพื่อการวางแผนการจัดการทรัพยากรแนวปะการังได้อย่างถูกต้อง
เทคนิคการสำรวจแนวปะการัง
1.  Manta tow survey เป็นวิธีการสำรวจที่ให้ข้อมูลไม่ละเอียดแต่ได้ภาพรวมของทั้งแนวปะการังตามวัตถุประสงค์ของการสำรวจ เช่น ศึกษาพื้นที่ปกคุมของปะการังที่ยังมีชีวิต หรือความหนาแน่นของประชากรดาวหนาม ข้อดีของวิธีนี้คือ เป็นวิธีที่ง่าย สำรวจในพื้นที่กว้าง ใช้เวลาน้อย และประหยัดค่าใช้จ่าย แต่ข้อเสียของวิธีนี้ คือ การสำรวจอาจไม่ครอบคลุมพื้นที่ของแนวปะการังในสัดส่วนที่เหมาะสม สิ่งมีชีวิตบางชนิดที่ไม่มีลักษณะเด่นอาจทำให้ผู้สำรวจมองไม่เห็น ในบริเวณที่น้ำขุ่นจะเป็นอุปสรรคมาก ข้อพึงระวังประการหนึ่งที่สำคัญ คือ ผู้สำรวจไม่ควรต้องจดจำข้อมูลหรือบันทึกข้อมูลหลายๆหัวข้อที่ศึกษาในคราวเดียวกัน
2.  Line intercept transect วิธีการนี้เป็นวิธีที่มีนักวิจัยใช้มากที่สุด และมีการประยุกต์ดัดแปลงให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการศึกษา การบันทึกข้อมูลอาจละเอียดมากจนถึงระดับ species หรืออาจแยกเป็นกลุ่มตามรูปร่างที่เห็น เท่านั้น (lifefrom) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถและประสบการณ์ของผู้สำรวจ เนื่องจากวิธีนี้ใช้การวัดความยาวของเทปที่พาดผ่านซึ่งเป็นการวัดในมิติเดียวจึงทำให้ใช้เวลาน้อยกว่าการใช้วิธี quadrat มาก แต่วิธีนี้มีข้อเสีย คือ ไม่สามารถตอบคำถามในรายละเอียดที่เกี่ยวกับประชากรได้ เช่น อัตราการตาย อัตรา recruitment และอัตราการเจริญเติบโต
3.  Quadrat or Belt transect การสำรวจปะการังโดยใช้ quadrat หรือการศึกษาในนลักษณะ belt transect นั้นให้ข้อมูลที่ละเอียด และมีความถูกต้องในเชิงปริมาณสูง แต่มีข้อจำกัด คือ ใช้เวลามากเมื่อเทียบกับวิธี line intercept transect ซึ่งทำให้นักวิจัยส่วนใหญ่ไม่เลือกใช้วิธีนี้
4.  Permanent quadrat method วิธีนี้ออกแบบเพื่อการติดตามการเปลี่ยนแปลงของแนวปะการังตามเวลา เป็นวิธีที่มีข้อดี คือ ไม่รบกวนแนวปะการัง สามารถศึกษาชีววิทยาของแนวปะการังได้อย่างละเอียด เช่น อัตราการเจริญเติบโต recruitment อัตราการตายหรือ partial mortality และเป็นการเก็บบันทึกข้อมูลของการเปลี่ยนแปลงได้นานหลายปี แต่มีข้อเสีย คือ ศึกษาในพื้นที่แคบๆ ถ้าบันทึกโดยการถ่ายภาพใต้น้ำอาจต้องเป็นแนวปะการังที่เป็นพื้นที่ราบเท่านั้น และการหาตำแหน่งของ permanent quadrat อาจมีปัญหาในบางบริเวณ วิธีนี้มีการนำไปใช้มากโดยการถ่ายภาพใต้น้ำซึ่งจะมีปัญหาเรื่องความขุ่นของน้ำแต่นักวิจัยบางคน อาจใช้วิธีการ mapping แทนซึ่งต้องใช้เวลามาก อย่างไรก็ตามการใช้วิธีนี้จำเป็นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการจำแนกสิ่งมีชีวิตที่พบใน quadrat ในภาคสนามด้วย เนื่องจากสิ่งมีชีวิตจำนวนมากไม่สามารถจำแนกชนิดได้จากภาพถ่ายเพียงอย่างเดียว
5.  Video transect วิธีนี้เป็นการพัฒนาการด้านเครื่องมือเพื่อมาประยุกต์ใช้ในการสำรวจแนวปะการังโดยเฉพาะการใช้ในวิธี line intercept transect ข้อดีของวิธีนี้ คือ ผู้สำรวจอาจไม่จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับ lifefrom หรือจำแนกชนิดสิ่งมีชีวิต ข้อมูลที่บันทึกเก็บไว้ได้ถาวร ประหยัดเวลาการทำงานใต้น้ำ สำรวจสิ่งมีชีวิตเพิ่มเติมได้ในภายหลัง และสามารถเปรียบเทียบข้อมูลกับผู้สำรวจคนอื่นได้ในภายหลัง แต่วิธีนี้มีข้อเสีย คือ ราคาเครื่องมือแพง การดูแลรักษาต้องดี พื้นแนวปะการังที่ไม่สม่ำเสมอและโครงสร้างแนวปะการังที่ซับซ้อนอาจทำให้ได้ภาพที่ไม่ชัดเจน และการจำแนกสิ่งมีชีวิตจากภาพที่ได้ต้องอาศัยข้อมูลจากภาคสนามของผู้เชี่ยวชาญประกอบด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น