ู☻ู

วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ระบบนิเวศ

ระบบนิเวศข้อความ : บทที่ 6
ระบบนิเวศ
6.1 รอบๆตัวเรา สิ่งต่างๆที่นักเรียนพบมีทั้งสิ่งมีชิวิตและสิ่งไม่มีชีวิต ขณะเดียวกันตัวนักเรียนเองก็เป็นสิ่งแวดล้อมเช่นกัน นักเรียนจะได้ศึกษาจาก กิจกรรม 6.1 การสำรวจสิ่งแวดล้อม จากการสำรวจสิ่งแวดล้อม นักเรียนจะเห็นว่าสิ่งแวดล้อมแต่ละแห่ง มักมีสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตอยู่ร่วมกันเสมอ แต่ สภาพและปริมาณจะแตกต่างกัน เราเรียกสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆที่อาศัยรวมกันเป็นกลุ่มว่า กลุ่มสิ่งมีชีวิต ซึ่งขนาดของกลุ่ม จำนวน และชนิดของสิ่งมีชีวิตในกลุ่มจะแตกต่างกันตามลักษณะบริเวณที่กลุ่มสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นอาศัยอยู่ เราเรียกบริเวณ นั้นว่า แหล่งที่อยู่ ในแหล่งที่อยู่แต่ะละแห่งนอกจากสิ่งมีชีวิตแล้ว ก็อาจมีสิ่งไม่มีชีวิตเช่น ดิน น้ำ อากาศ แสงแดด เป็นต้น รวมเข้ากัน เป็นระบบ มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน เราเรีกว่า ระบบนิเวศ ซึ่งระบบนิเวศนี้สามารถแบ่งได้ 2 ประเภทคือ ระบบนิเวศบนบก และระบบนิเวศบนน้ำ ซึ่งมีขนาดต่างๆกันไป ทั้งนี้สุดแล้วแต่ว่าเราจะกล่าวถึงระบบนิเวศใด เช่น ถ้ากล่าวถึงโลก เราถือได้ว่าโลกเป็นระบบนิเวศที่มีขนาดใหญ่ มีระบบนิเวศที่มีขนาดเล็กอยู่ในระบบนิเวศขนาดใหญ่ด้วยเช่นกัน
6.2 บทบาทของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ พืชเป็นสิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารได้เองทั้งในทางตรง และทางอ้อม ดังนั้นพืชสีเขียวจึงได้ชื่อว่า ผู้ผลิต สัตว์ทุกชนิดไม่สามารถสร้างอาหารเองได้ จึงจัดเป็น ผู้บริโภค นักเรียนจะได้ศึกษาจาก กิจกรรม 6.2 สำรวจอาหารสัตว์
จากกิจกรรมนักเรียนจะเห็นว่า สัตว์บางชนิดกินพืช บางชนิดกินสัตว์ บางชนิดกินทั้งพืชและสัตว์ เราเรียกสัตว์ที่กินสัตว์อื่นว่า ผู้ล่า และเรียกสัตว์ที่ถูกกินว่า เหยื่อ สัตว์บางชนิดเป็นทั้งผู้ล่าและเหยื่อของสัตว์อีกทอดหนึ่ง เช่น หนอนกำลังกินใบไม้ ถ้าเราเริ่มต้นที่ผู้ผลิตอาหารได้เอง คือพืชและผู้กินพืชในที่นี้คือหนอน ต่อมาลูกไก้กำลังกินหนอน และภาพเหยี่ยวกำลังโฉบลูกไก่ ขณะที่ลูกไก้กำลังเป็นผู้ล่านั้น ก็อาจกลายเป็นเหยื่อของผู้ล่าอื่นด้วย นักเรียนจะเห็นว่าจะมีการกินกันเป็นทอดๆ เรียกว่า โซ่อาหาร
ในระบบนิเวศแต่ละแห่งย่อมมีสิ่งมีชีวิตต่างๆกันอาศัยอยู่รวมกันและอาหารของสัตว์เหล่านั้น ย่อมเหมือนกันบ้างและต่างกันบ้าง ทำให้เกิดโซ่อาหารต่างๆมากมาย เราเรียกความสัมพันธ์ระหว่างโซ่อาหารหลายๆห่วงโว่นี้ว่า สายใยอาหาร
นอกจากผู้ผลิตและผู้บริโภคแล้ว ยังมีสิ่งมีชีวิตอีกจำพวกหนึ่งที่ทำหน้าที่ย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิต เราเรียกสิ่งมีชีวิตพวกนี้ว่า ผู้ย่อยสลายอินทรียสาร ซึ่งได้แก่ เห็ด รา จุลินทรีย์ต่างๆ เห็ดราเป็นสิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารเองไม่ได้ ต้องอาศัยอาหารจากซากพืชซากสัตว์ ที่มันย่อยสลาย บางชนิดเป็นประโยชน์ เช่น เป็นอาหาร เป็นยา แต่บางชนิดเป็นโทษ มีอันตรายถึงชีวิต
เมื่อพืชและสัตว์ตายก็จะเน่าเปื่อย สิ่งที่ทำให้พืชและสัตว์เน่าเปื่อยคือ ผู้ย่อยอินทรียสาร ซึ่งมีอยู่ทุกหนทุกแห่งทั้งในอากาศ น้ำ และดิน ซึ่งเมื่อเกิดการย่อยสลายแล้ว พืชจะดูดแร่ธาตุต่างๆไปใช้ ดังนั้น ถ้าไม่มีผู้ย่อยอินทรียสาร โลกจะเต็มไปด้วยซากพืชซากสัตว์ ที่ไม่ย่อยสลาย และดินก็จะเสื่อมคุณภาพไปเรื่อยๆ
6.3 ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
6.3.1 ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิต นักเรียนเคยสังเกตหรือไม่ว่า เพราะเหตุใดพืชในแต่ละแห่งจึงเจริญเติบโตได้ไม่เท่ากัน ศึกษา ได้จาก กิจกรรม 6.3 สิ่งแวดล้อมมีผลต่อพืชอย่างไร จากการทดลองนักเรียนจะเห็นว่าเมล็ดผักบุ้งในกระป๋องทุกใบที่รดน้ำจะงอก ส่วนกระป๋องที่ไม่ลดน้ำ จะไม่งอก แสดงว่าน้ำหรือความชื้นมีผลต่อการเจริญเติบโต ยิ่งไปกว่านั้นยังมีปัจจัยอื่นๆอีกเช่น เนื้อที่ น้ำ และแสง นักเรียนคิดว่าแก๊ซ มีผลต่อสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศด้วยหรือไม่ ศึกษาได้จาก กิจกรรม 6.4 แก๊ซที่ได้จากการหายใจของคนและพืช
จากความรู้ที่ว่า เมื่อผ่านแก๊ซคาร์บอนไดอ๊อกไวด์ลงไปในสารละลายแคลเซียมไฮดรอกไซด์ จะทำให้สารละลายแคลเซียมไฮดรอกไซด์ขุ่น และจากการทดลองก็ได้ผลเช่นกัน แสดงว่าลมหายใจของคนมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ด้วย ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าแก๊ซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศนั้นส่วนหนึ่งมาจากลมหายใจ ออกของคน และเมื่อทดลองในตอนที่ 2 ก็ได้ผลเช่นเดียวกัน แสดงว่าแก๊ซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ที่ได้นี้มาจากการ หายใจของต้นถั่ว
จากการทดลองทั้ง 2 ตอน นักเรียนจะเห็นว่าลมหายใจออกของคนและสัตว์จะให้แก๊ซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ออกสู่บรรยากาศทั้งสิ้น สัตว์ก็เช่นเดียวกัน สิ่งมีชีวิตทุกชนิดต้อง หายใจอยู่ตลอกเวลา ดังนั้นจึงมีการดึงแก๊ซออกซิเจนออกไปจากอากาศและปล่อยแก๊ซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่อากาศรอบๆอยู่ตลอดเวลา
ในเวลากลางวันโลกได้รับแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ พืชสีเขียวเมื่อได้รับแสงก็จะมีการสังเคราะห์ด้วยแสง โดยใช้แก๊ซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ในการสังเคราะห์ด้วยแสง ขณะเดียวกันก็ปล่อยแก๊ซอ๊อกซิเจนออกมา ซึ่งทั้งคน สัตว์ และพืช ก็หายใจเอาแก๊ซนี้เข้าไป ทำให้เกิดการหมุนเวียนของแก๊ซคาร์บอนไดอ๊อกไชด์และออกซิเจนในบรรยากาศ
ดวงอาทิตย์ส่งพลังงานมายังโลกในรูปของการแผ่รังสี บางส่วนของรังสีจะสะท้อนออกนอกบรรยากาศโลก บางส่วนจะถูกดูดซับไว้โดยพื้นดิน น้ำ และแก๊ซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ และจะแผ่รังสีออกมาในรูปของความร้อน ดังนั้น ความร้อนที่โลกได้รับนี้จึง ได้จากพื้นดิน น้ำ และแก๊ซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ ความร้อนปริมาณนี้จะถูกฝุ่นละออง ไอน้ำในอากาศและแก๊ซคาร์บอนไดอีอกไซด์กั้นไว้ ไม่ให้ออกไปนอก บรรยากาศของโลก ทำให้อุรหภูมิ ของโลกเพิ่มขึ้น เราเรียกปรากฏการณ์แบบนี้ว่า ปรากฏการณ์เรือนกระจก
6.3.2 ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิต นักเรียนคงเคยเห็นแล้วว่าในระบบนิเวศหนึ่งๆสิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิตมีความสัมพันธ์กัน โดย สิ่งมีชีวิตต้องอาศัยสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิตเพื่อให้ดำรงชีวิตอยู่ได้ เช่น ผีเสื้อดุดน้ำหวานจากดอกไม้เพื่อเป็นอาหาร ในขณะเดียวกัน ละอองเรณูอาจติดไปกับขาของผีเสื้อด้วย เมื่อผีเสื้อไปดูดน้ำหวานจากดอกไม้อื่น ทำให้เกิดการถ่ายละอองเรณูได้ เราอาจสรุปความสัมพันธ์ของกลุ่มสิ่งมีชีวิต ในแหล่งที่อยู่เดียวกันได้ดังนี้
1.ต่างฝ่ายต่างให้ประโยชน์ซึ่งกันและกัน

2.ฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์ อีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้ประโยชน์และก็ไม่เสียประโยชน์

3.ฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์และอีกฝ่ายหนึ่งเสียประโยชน์

ปกติแล้วถ้าความสัมพันธ์นี้ดำเนินไปด้วยดี ระบบนิเวศก็จะอยู่ใน ภาวะสมดุล แต่โดยทั่วไปแล้วระบบนิเวศมักไม่อยู่ในสภาวะสมดุลตลอดไป มักมีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา ซึ่งเกิดโดย ธรรมชาติหรือเกิดจากการกระทำของมนุษย์ อาจเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป หรือรวดเร็วฉับพลัน
เมื่อสิ่งแวดล้อมไม่มีชีวิตในระบบนิเวศแตละแห่งมีการเปลี่ยนแปลง จะมีผลทำให้สิ่งมีชีวิตชนิดนั้นเปลี่ยนแปลงไปด้วย คืออาจจะเพิ่มขึ้นหรือลดลง หรืออาจมีสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่เกิดขึ้น ด้วยเช่นกัน เช่นในฤดูแล้ง หลังเก็บเกี่ยวพื้นที่ที่เคยเป็นนาข้าวมักจะแห้งแล้ง ถ้ามีฝนตกลงมามากๆพื้นดินได้รับความชุ่มชื้น หลังจากนั้นไม่นานก็จะมีหญ้าหรือวัชพืชขึ้นมา หรือถ้ามีน้ำขังหลายวันก็จะมี กบ เขียด เข้ามาอยู่ในบริเวณนั้น
6.4 การปรับตัวของสิ่งมีชีวิต
ถ้าสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวสหนึ่งๆสามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ จะทำให้สิ่งมีชีวิตนั้นมีชีวิตอยู่ต่อได้ แต่ถ้าไม่ สามารถปรับตัวได้ ก็อาจย้ายที่อยู่หรือตายไป บางชนิดสูญพันธ์ไปก็มี นักเรียนจะได้ศึกษาการปรับตัวของพืชให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้จาก กิจกรรม 6.5 การปรับตัวของพืชให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม จากการทดลองจะเห็นว่า ต้นผักบุ้งที่มีกล่องครอบมีการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม โดยพยายามเบนเข้าหาแสง ทั้งนี้เพราะแสงเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต แต่เมื่อเอากล่อง ออก ต้นผักบุ้งได้รับแสงเต็มที่ ลำต้นจะตั้งต้นตามเดิม การเปลี่ยนแปลงนี้จะเกิดในระยะเวลาสั้น และเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สามารถสังเกตได้ง่าย
นอกจากพืชมีการปรับตัวแล้ว สัตว์ก็มีการปรับตัวเช่นเดียวกัน นักเรียนคงเคยเห็นสัตว์หลายชนิดที่เปลี่ยนสีตามสิ่งแวดล้อมได้ เช่น กิ้งก่า จิ้งจก เขียด ตั๊กแตน และแมลงต่างๆ อีกหลายชนิด สัตว์เหล่านี้มักปรับสี และบางชนิด ปรับลักษณะตัวให้กลมกลืนกับสิ่งแวดลที่อาศัยอยู่ เป็นการพรางตาในการหาเหยื่อและพรางศัตรู นอกจากนี้สัตว์บางชนิด เช่น กบ เขียด จะเก็บ ตัวอยู่นิ่งๆตลอดฤดูหนาวที่ขาดแคลนอาหาร จะใช้อาหารที่สะสมในร่างกายเท่านั้น
การปรับตัวของสิ่งมีชีวิตดังกล่าว เป็นการเปลี่ยนแปลงชั่วคราวและสามารถเปลี่ยนกลับไปกลับมาได้ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ จากการศึกษาค้นคว้า ทำให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ายังมีการเปลี่ยนแปลงอีกแบบหนึ่งซึ่งมองไม่เห็น เพราะเป็นการเปลี่ยนแปลงภายในที่เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากบรรพบุรุษไปยังลุกหลานทำให้สิ่งมีชีวิตสามารถปรับตัวอยู่รอด และดำรงเผ่าพันธ์ได้ เช่น ต้นกระบองเพชรมีหนามซึ่งเปลี่ยนจากใบเพื่อลดการระเหยของน้ำ และลักษณะลำต้นจะพองออกเพื่อทำหน้าที่เก็บน้ำ เป็นต้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ถาวร ทำให้ต้นกระบองเพชรสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในสิ่ง แวดล้อมที่แห้งแล้ง
การปรับตัวของสิ่งมีชีวิตให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมเป็นการปรับตัวเพื่อการอยู่รอดและไม่ให้สูญพันธ์ ถ้าภาวะแวดล้อมเปลี่ยนแปลงกะทันหันหรือเปลี่ยนแปลงมากเกินกว่าสิ่งมีชีวิตจะปรับตัวได้ เช่นเกิดอุทกภัย วาตภัย แผ่นดินไหว หรือเกิดโรคระบาด สิ่งมีชีวิตก็ไม่สามารถอยู่ได้ หลักฐานจากซากดึกดำบรรพ์ทำให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า สิ่งมีชีวิตหลายชนิดสูญพันธ์ไปเนื่องจากไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้
จากหลักฐานทางธรณีวิทยาและโบราณวิทยา ทำให้นักวิทยาศาสตร์ตั้งข้อสันนิษฐานว่า ไดโนเสาร์มีร่างการที่ใหญ่โต ต้องการอาหารเป็นจำนวนมาก เคลื่อนไหวช้า ทำให้หลบหนีศัตรูและภัยธรรมชาติยาก ประกอบกับอยู่ในยุคที่เปลือกโลกกำลังมีการเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันและบ่อยครั้ง จึงมีผล ให้ไดโนเสาร์ปรับตัวไม่ทันจึงสูญพันธ์ไป ในปัจจุบันพบว่าสัตว์ป่าบางชนิดสูญพันธ์ไปแล้วและอีกหลายชนิดกำลังจะสูญพันธ์ เช่น ช้าง เสือ ละอง ละมั่ง ควายป่า สมัน เนื้อทราย กระซู่ โคไพรเป็นต้น
อาจกล่าวได้ว่าปัจจุบันการกระทำของมนุษย์เป็นสาเหตุทำให้สัตว์ป่าสูญพันธ์ เพราะมนุษย์ชอบล่าสัตว์ เพื่อความสนุกสนานหรือเพื่อเอาเนื้อมาเป็นอาหาร เอางา เขา หนัง มาประดับบ้าน นอกจากนั้นยังจับสัตว์ป่าในฤดูผสมพันธ์ และการบุกรุกทำลายป่า การกระทำเหล่านี้มีผลทำให้สัตว์ป่าเสียถิ่นที่อยู่อาศัยและที่ทำมาหากิน นอกจากการกระทำของมนุษย์แล้ว ภัยธรรมชาติ ลักษณะรูปร่างบางประการของสัตว์ ตลอดจนที่อยู่อาสัย ก็อาจเป็น สาเหตุที่ทำให้สัตว์สูญพันธ์ได้เร็ว
6.5การพัฒนาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
นักเรียนได้เรียนรู้มาแล้วว่า ระบบนิเวศแต่ละระบบจะประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต และต้องมีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน แต่สำหรับมนุษย์แทนที่จะปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม กลับปรับสิ่งแวดล้อมให้เหมาะกับการดำรงชีวิตของตน รู้จักนำ ดิน น้ำ อากาศ แสงแดด แร่ธาตุ ป่าไม้ สัตว์ป่า ซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำรงชีวิต นั่นคือมนุษย์จำเป็นต้องมีการพัฒนาสิ่งต่างๆ แต่หลายครั้งหลายคราที่มนุษย์มุ่งจะพัฒนาเพื่อตนเองเพียงอย่างเดียว โดยลืมนึกถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ในทางที่เลวลง หากมนุษย์ยังกระทำเช่นนี้อยู่ต่อไป ทรัพยากรธรรมชาติต่างๆก็มีวันสูญสิ้น สิ่งแวดล้อมต่างๆอาจถูกทำลายจนถึงวาระที่ไม่อาจฟื้นกลับมาสู่สภาพเดิมได้อีก เมื่อเป็นเช่นนี้มนุษย์จำเป็น ต้องเรียนรู้ที่จะพัฒนาและอนุรักษ์สิ่งทั้งหลายดังกล่าวจาก กิจกรรม 6.6 พัฒนากร-พัฒนาการ
จากตารางนักเรียนจะเห็นว่า ประชากรของประเทศไทยมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น เมื่อไม่นานมานี้ประเทศไทยเคยอุดมสมบูรณ์ ไปด้วยป่าไม้และสัตว์นานาชนิด แต่ปัจจุบันความต้องการในการใช้พื้นที่ป่าได้เพิ่มมากขึ้น ตามการเพิ่มอย่างรวดเร็วของประชากร จากการสำรวจเมื่อปี 2528 พบว่าเหลือพื้นที่ป่าเพียงร้อยละ 21 ของพื้นที่ทั้งประเทศเท่านั้น
การทำลายป่าจะทำให้เกิดความแห้งแล้งทั้งพื้นดินและอากาศ เพราะโดยปกติแล้วน้ำฝนที่ตกในป่า ส่วนหนึ่งจะถูกสกัดกั้นโดยเรือนยอดของต้นไม้ แล้วค่อยๆไหลจากใบ กิ่ง ลงไปตามลำต้นไปสู่ดิน การระเหยของน้ำจะช่วยลดความร้อนของอากาศในป่าและบริเวณใกล้เคียง ทำให้ความชื้นในอากาศสูงขึ้น ฝนจึงตกในป่ามากกว่าในทะเลทราย น้ำฝนส่วนที่เหลือจากส่วนที่ติดค้างอยู่ตามลำต้นกิ่งไม้ของต้นไม้ ก็จะถุกดูดซับโดยซากพืช ที่ทับถมกันอยู่บริเวณผิวดินส่วนหนึ่ง ซากพืชและดินในป่าจะช่วยอุ้มน้ำรวมทั้งชะลอกระแสน้ำที่ไหลไปตามผิวดินทำให้ต้นน้ำลำธารปล่อยน้ำได้ตลอดปี ช่วยป้องกันน้ำท่วมได้มาก จากการที่นักเรียนได้เรียนรู้มาแล้วว่าพืชดุดแก๊ซคาร์บอนมอนอ๊อกไซด์ใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ดังนั้นการตัดไม้ทำลายป่าจะเป็นการทำลายสิ่งที่ทำให้แก๊ซคาร์บอนมอนอ๊อกไวด์ลดลง ซึ่งจะทำให้ แก๊ซคาร์บอนมอนอ๊อกไซด์เพิ่มขึ้นจนกระทั่งสิ่งมีชีวิตไม่สามารถจะอาศัยอยู่ได้
เรามักจะกล่าวกันว่าความเจริยเข้าไปที่ไหน ปัญหาสิ่งแวดล้อมจะเกิดที่นั้น แสดงว่าความเจริญก้าวหน้าไม่ว่าทางวิทยาศาสตร์หรือทางเทคโนโลยีได้มีการ พัฒนาสิ่งต่างๆที่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่นการผลิตสารเคมีที่ปราบแมลง แต่มีผลต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดสารพิษตกค้างสะสมในพืช ในดิน ในน้ำ และในอากาศ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคำนึง ถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมด้วยเสมอ เราะในการพัฒนาใดๆถ้าทำให้สิ่งแวดล้อมในระบบนิเวศเสื่อมโทรมลงไปไม่ว่าจะช้าหรือเร็ว หรือเปลี่ยนแปลงเกินกว่าที่จะทำให้กลับสู่สภาพเดิมได้แล้ว สิ่งมีชีวิตทั้งหลายรวมทั้งมนุษย์ ก็จะไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้

จาก : webmaster - -
napat@soi13.com - 22/08/2002 16:36 เข้าไปที่ไหน ปัญหาสิ่งแวดล้อมจะเกิดที่นั้น แสดงว่าความเจริญก้าวหน้าไม่ว่าทางวิทยาศาสตร์หรือทางเทคโนโลยีได้มีการ พัฒนาสิ่งต่างๆที่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่นการผลิตสารเคมีที่ปราบแมลง แต่มีผลต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดสารพิษตกค้างสะสมในพืช ในดิน ในน้ำ และในอากาศ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคำนึง ถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมด้วยเสมอ เราะในการพัฒนาใดๆถ้าทำให้สิ่งแวดล้อมในระบบนิเวศเสื่อมโทรมลงไปไม่ว่าจะช้าหรือเร็ว หรือเปลี่ยนแปลงเกินกว่าที่จะทำให้กลับสู่สภาพเดิมได้แล้ว สิ่งมีชีวิตทั้งหลายรวมทั้งมนุษย์ ก็จะไม่สามารถดำรงชีวิต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น