ู☻ู

วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การสำรวจสถานที่ก่อสร้าง

การสำรวจสถานที่ก่อสร้าง
การสำรวจสถานที่ก่อสร้างมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลพื้นฐานที่ใช้ในการก่อสร้างนั้น ๆ เช่นลักษณะภูมิประเทศ ขอบเขตบริเวณที่จะทำการก่อสร้าง การคมนาคมสะดวกหรือไม่ไฟฟ้าและประปามีเพียงพอหรือไม่ สภาพดินและน้ำใต้ดินเป็นต้น ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นข้อมูลในการวางแผนออกแบบและดำเนินการก่อสร้าง
การสำรวจดูสถานที่ซึ่งจะทำการสำรวจดิน โดยสังเกตชนิดของฐานรากบริเวณใกล้เคียงรอยแตกบริเวณประตู หรือหน้าต่างหรือคานรับน้ำหนัก ปัญหาเรื่องน้ำหนัก ปัญหาเรื่องน้ำกัดเซาะดิน อาจพบในบางแห่งที่มีการไหลของน้ำซึมผ่านชั้นดิน เมื่อทำการขุดข้อมูลเหล่านี้จะได้มาจากการสอบถามและสำรวจพื้นที่ บางครั้งจำเป็นที่จะต้องไปศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับดินเพิ่มเติม ปกติจะมาจากผลงานการสำรวจ หรือวิจัยของสถาบันการศึกษา ข้อมูลจากหน่วยงานของท้องถิ่นแผนที่ภาพถ่ายทางข้อมูลเกี่ยวกับดิน และหินจากกรมทรัพยากรธรณีเป็นต้น ทั้งนี้จะเป็นประโยชน์ในการเตรียมของที่จำเป็น จะต้องใช้สำหรับการปฎิบัติและเป็นการเตรียมการเบื้องต้น
1. การเจาะดินเพื่อการสำรวจเบื้องต้น
เป็นการขุดหรือเจาะดินส่วนหนึ่งในพื้นที่ เพื่อต้องการทราบชนิดของดินการเรียงตัวของชั้นดิน ระดับน้ำใต้ดินและอื่น ๆ อันจะเป็นประโยชน์ในการเตรียมเครื่องมือ และวางแผนงานได้ดีขึ้น สำหรับงานสำรวจดิน ซึ่งไม่ใหญ่มากนักอาจไม่มีขั้นตอนนี้ หรือหากเป็นงานที่เล็กแล้วการสำรวจดินในสนามอาจสิ้นสุดที่ขั้นตอนนี้ก็ได้
2. การสำรวจดินเพื่อหารายละเอียด
เป็นการวางแผนอย่างละเอียดเกี่ยวกับการสำรวจดิน โดยทั่วไปจะระบุว่าจะเจาะดินทั้งหมดกี่หลุม แต่ละหลุมลึกเท่าไร มีการทดสอบในสนามอะไรบ้างในตำแหน่งความลึกเท่าใด เก็บตัวอย่างดินของหลุมใดที่ระดับลึกเท่าไร เพื่อนำไปทดสอบอะไร โดยปกติแล้วจะต้องการข้อมูลสำหรับทำ Soil Profile ข้อมูลเกี่ยวกับความแข็งแรงของดิน (Shear Strength Parameters) และข้อมูลเพื่อใช้คำนวณหาการทรุดตัวของสิ่งก่อสร้าง
3. ความลึกของการเจาะสำรวจ
โดยทั่วไปนั้นมักจะเจาะสำรวจดินเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เพียงพอต่อการออกแบบ และก่อสร้างฐานราก ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายและเวลาที่ใช้ในการดำเนินการ เพื่อที่จะศึกษาลักษณะการวางตัวของชั้นดินความลึกสูงสุดของหลุม ได้มาจากการประมาณหาการกระจายของแรง ที่มีผลต่อดินไปไม่มากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ (Pressure Increment Is 10 Percent Of Contact Pressure) ซึ่งประมาณได้เท่ากับ 2 เท่าของความยาวของฐานรากนับจากระดับใต้ฐานราก ลึกลงไปหากเป็นดินอ่อน ที่ทำให้เกิดปัญหาซึ่งจำเป็นที่จะต้องใช้เสาเข็มหรืออื่น ๆ ควรจะเจาะให้ลึกลงไปจนถึงชั้นดินที่แข็งแรงพอที่จะรับน้ำหนักของโครงสร้าง
4. วิธีการเจาะสำรวจดิน
4.1 การทำหลุมเจาะ เจาะหลุมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4 นิ้ว ทำการเจาะด้วยเครื่องเจาะแบบ Tripod Rig หรือใช้แท่นเจาะดังภาพที่ 4.1 (ก) วิธีการเจาะในช่วง 1.00-5.00 เมตรแรก ทำการเจาะโดยใช้ Hand Auger และที่ระดับความลึกลงไปใช้วิธีการเจาะโดยใช้น้ำเป่า (Wash Boring) จนกระทั้งสิ้นสุดการเจาะสำรวจ ขณะทำการสำรวจได้มีการลงปลอกเหล็ก (Casing) ลงไปในดิน เพื่อป้องกันดินพัง
4.2 การเก็บตัวอย่างดิน การเก็บตัวอย่างดินคงสภาพ (Undisturbed Sample) ที่ชั้นดินอ่อน (Soft to Medium stiff Clay) ทุกระยะ 1.50 เมตร จะกระทำโดยใช้กระบอกเปลือกบาง (Thin Wall Tube) ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3 นิ้ว ยาว 0.75 เมตร กดลงไปในความลึก 0.50 เมตร แล้วปิดก้านเจาะเพื่อให้ดินขาดจากกัน ตัวอย่างดินถูกเก็บขึ้นมาแล้วผนึกหัวและท้ายของกระบอกด้วยขี้ผึ้ง เพื่อรักษาความชื้นให้คงเดิม ดังภาพที่ 4.1 (ข) แล้วนำส่งเข้าห้องปฏิบัติการเพื่อทำการทดสอบต่อไป
การเก็บตัวอย่างดินเปลี่ยนภาพ (Disturbed Sample) จะกระทำในชั้นดินเหนียวแข็ง (Stiff of Head clay) และในชั้นทราย ทุกระยะ 1.50 เมตร พร้อมทั้งทดสอบ (Standrad Penetation Test) ตามมาตรฐาน ASTM D – 1586 เก็บดินโดยใช้กระบอกผ่า (Split Spoon) เส้นผ่านศูนย์กลาง 2 นิ้ว ดังภาพที่ 4.1 (ค) และภาพที่ 4.1 (ง)
4.3 การทดสอบ Standard Penetration Test (SPT) ตามมาตรฐาน ASTM D – 1586 – 87 กระทำทุกๆ ระยะ 1.50 เมตร ใน Stiff of Head clay และในชั้นทรายการทดสอบกระทำโดยการตอกกระบอกผ่ามาตรฐาน เส้นผ่านศูนย์กลางภายใน 34.9 มิลลิเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางภายนอก 50.8 มิลลิเมตร (2 นิ้ว) เพื่อเก็บตัวอย่างดิน การตอกใช้ลูกตุ้มเหล็กหนัก 63.5 กิโลกรัม (140 ปอนย์) ยกสูง 76 เซนติเมตร (30 เซนติเมตร)ระยะจม 18 นิ้ว ถูกแบ่งเป็น 3 ช่วง ช่วงละ 6 นิ้ว แต่ละช่วงจะทำการบันทึกจำนวนครั้งที่ใช้ในการตอกเพื่อให้กระบอกผ่าจมลงไป 6 นิ้ว ทำการตอกจนกระบอกผ่าจมลงในดิน 45 เซนติเมตร (12 นิ้ว) สุดท้ายเป็นค่า SPTN Value มีหน่วยเป็น จำนวนครั้งต่อ 30 เซนติเมตร ตัวอย่างที่ได้จากการทำ SPT ได้จัดเก็บใส่ ถุงพลาสติก 2 ชั้น เพื่อป้องกันการระเหยของน้ำ
4.4 การวัดระดับน้ำใต้ดินในหลุมเจาะ จะทำการวัดภายหลังจากเสร็จสิ้นการเจาะสำรวจดินเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 24 ชั่งโมง
4.5การเจาะสำรวจดินในสนามแต่ละหลุมจะยุติการเจาะสำรวจเมื่อได้ระดับความลึกตามที่ผู้ว่าจ้างกำหนดค่า Standard Penetration Test (SPT) มากกว่า 50 Blows /6” หรือค่า SPT รวมกันมากกว่า 100 Blows ในกรณีที่วัดเป็น Partial Increment (คือวัดค่าได้ 100 Blows ในขณะที่ตอกกระบอกผ่าจมดินได้ไม่ถึง 18 นิ้ว) หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง
ตัวอย่างดิน ที่ได้จากการทำ SPT และตัวอย่างดินคงสภาพ ได้ถูกคัดเลือกเพื่อนำไปใช้ทดสอบ โดยวิธีต่อไปนี้
4.5.1 หาขีดจำกัดความเหลว และขีดจำกัดพลาสติกของดิน (Atterberg’s Limits Test)
4.5.2 หาความความชื้นในธรรมชาติของดิน (Natural Water Content)
4.5.3 ความหนาแน่นเปียก (Wet Unit weight)
4.5.4 หาขนาดคละของเม็ดดินที่เป็นดินทราย (Sieve Analysis)
4.5.5 หากำลังรับแรงเฉือนของดินเหนียว (Pocket Penetration Test)
บทความโดย : สุพรรณ์ ถึงเสียบญวน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น