ู☻ู

วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เทคโนโลยีกับการสำรวจธรรมชาติ

ขั้นตอนพื้นฐานของการสำรวจธรรมชาติมักประกอบขึ้นด้วย
  • การสำรวจ ให้ทราบถึงขอบเขตพื้นที่
  • การจำแนกสิ่งที่ต้องการสำรวจ เพื่อกำหนดสภาวะ หรือ ลักษณะการเปลี่ยนแปลง
  • การตรวจวัดเชิงปริมาณต่อสิ่งที่ต้องการสำรวจ

ในการสำรวจธรรมชาติเพื่อให้ทราบสถานะ และลักษณะการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติจึงต้องคำนึงถึง

ขอบเขตเชิงพื้นที่ของสภาวะธรรมชาติ และการเปลี่ยนแปลงที่สนใจ  สภาวะธรรมชาติ หรือการเปลี่ยนแปลงของสภาวะธรรมชาติที่สนใจอาจครอบคลุมพื้นที่ไม่กี่ตารางเมตรไปจนเป็นพื้นที่หลายตารางกิโลเมตร เช่นสภาวะความอุดมสมบูรณ์ของป่า  การเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำในบ่อ ในบึง  หรือ ในอ่าว  การแพร่กระจายของโรคพืช เกิดขึ้นเป็นแปลง หรือลุกลามเป็นจังหวัด ฯลฯ
ช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงที่สนใจ มีช่วงเวลานับแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดสั้นยาวอย่างไร เช่น การเปลี่ยนแปลงของภูมิประเทศ การเปลี่ยนแปลงทางธรณีมักใช้เวลาเป็นล้านปี การเปลี่ยนแปลงขยายตัวของเมืองจะสังเกตเห็นได้ชัดถ้ามีการสังเกตุเป็นรายปี  การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำขึ้นน้ำลง เกิดขึ้นทุกวัน  เป็นต้น

คุณภาพและปริมาณของธรรมชาติ และการเปลี่ยนแปลงที่สนใจ  มีความแตกต่างกันมากน้อยเพียงใด เช่นการสำรวจสภาวะของป่าไม้ จะต้องพิจารณาถึงความอุดมสมบูรณ์ ความหลากหลายของพันธุ์ไม้ รูปทรงและพื้นที่ของป่า  คุณภาพและปริมาณที่เหล่านี้สามารถสังเกตุได้หรือไม่  อุณหภูมิที่สูงขึ้น 3 องศาเซลเซียสบอกสภาวะการเปลี่ยนแปลงของน้ำทะเล และอุณหภูมิเฉลี่ยของเมืองเหมือนกันหรือไม่       

ในการสำรวจดังกล่าว อาจเลือกแนวทางในการสำรวจ และตรวจวัดด้วยการลงสำรวจในพื้นที่ หรือด้วยการใช้เทคโนโลยีรีโมทเซนซิงช่วยในการสำรวจ หรือใช้ทั้งสองแนวทางผสมกัน
  1. การสำรวจตรวจวัดในพื้นที่ (in situ sensing) เป็นการสำรวจโดยผู้สำรวจนำเครื่องมือวัดเข้าไปในพื้นที่ที่ต้องการสำรวจ เช่น เมื่อต้องการสำรวจคุณภาพน้ำทะเลก็สามารถดำเนินการได้โดยลงเรือสำรวจ แล้วออกไปตรวจวัดน้ำในทะเล หรือการติดเครื่องมือวัดไว้กับทุ่นลอย แล้วใช้วิทยุส่งข้อมูลที่วัดได้มายังสถานีรับ  การตรวจวัดความอุดมสมบูรณ์ของดิน ด้วยการใช้เครื่องมือวัดไปตรวจดินให้ทั่วพื้นที่ที่ต้องการศึกษา 
การตรวจวัดด้วยเทคโนโลยีรีโมทเซนซิง (remote sensing) เป็นการสำรวจจากระยะไกล  โดยเครื่องมือวัดไม่มีการสัมผัสกับสิ่งที่ต้องการตรวจวัดโดยตรง  กระทำการสำรวจโดยให้เครื่องวัดอยู่ห่างจากสิ่งที่ต้องการตรวจวัด โดยอาจติดตั้งเครื่องวัดเช่น กล้องถ่ายภาพ ไว้ยังที่สูง บนบอลลูน บนเครื่องบิน ยาวอวกาศ หรือดาวเทียม แล้วอาศัยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่แผ่ หรือสะท้อนมาจากสิ่งที่ต้องการสำรวจเป็นสื่อในการวัด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น